ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
เมนบอร์ด (Main Board)
เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลักที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การจะให้อุปกรณ์ต่างๆ
ทำงานได้นั้นต้องติดตั้งหรือเชื่อมต่อสายเข้ากับเมนบอร์ด แม้แต่ซีพียูก็ต้องติดตั้งเข้า กับเมนบอร์ดถูกผลิกออกมาเพื่อใช้กับซีพียูต่างรุ่นต่างแบบ และยังมีผู้ผลิตหลายราย ด้วยกัน เช่น ASUS, ECS, GIGABYTE, CHAINTECH, MSI, ABIT, INTEL เป็นต้น เนื่องจากเมนบอร์ดมีจุดที่จะต้องต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไป ดังนั้นจึงต้องดูรายละเอียดที่สำคัญๆ บนเมนบอร์ด ดังนี้ AGP Slot (Accelerator Graphic Port)
เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพี
จะมีสีน้ำตาลตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อตพีซีไอ และอยุ่ใกล้กับตำแหน่งของ ซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผลก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วใน การแสดงผลสูงๆอย่างเช่น เกมส์สามมิติ โปรแกรมกราฟฟิก ประเภทสามมิติ ออกแบบบัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้สังเกตๆง่ายคือ 2X 4Xและล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น
รูปที่ 2.17 สล็อตแบบเอพีจี
แบตเตอรี่แบ๊คอัพ (CMOS Battery)
แบตเตอรี่แบ๊คอัพเบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟกับ CMOS
เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหาแบตเตอรี่หมดอายุ จะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถ ตรวจสอบได้ว่า มีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อ ได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ยรูป รูปที่ 2.18 แบตเตอรี่แบ๊คอัพ BIOS (Basic Basic Input Output)
เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบ
ค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมซีดีไดรฟ์ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกคนที่เปิดเครื่อง คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออสจะเริ่มตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของ เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้ เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงาน ให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อคอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่นที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปเป็น ไบออสของ AIM ไบออสมี หลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHOENIX, COMPAQ,IBM ซึ่งจะมีความ แตกต่างกันบ้างในเครื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส
รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้ง
อยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่งเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด
รูปที่ 2.19 BIOS
CPU Socket
ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ
Pentium 4 และ Canceler จะเรียกซอคเก็ตSOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนช็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์คที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็ต 478 จะมีรอยมาร์คอยุ่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้ติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่าง ถูกต้อง
รูปที่ 2.20 CPU Socket
ขั้วต่อสายไฟ ( ATX Power Connector)
ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX
โดยที่เพาเวอร์ซัพพลายจะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่ง ของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟหลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย
รูปที่ 2.21 ขั้วต่อสายไฟ
คอนเน็คเตอร์
คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์
ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วยใหญ่จะติดตั้งดิสก์ ไดรฟ์เท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็ตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับ คอนเน็เตอร์จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1
รูปที่ 2.22 คอนเน็คเตอร์
IDE Connector
เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึง
อุปกรณ์จำพวกไดรฟ์อ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิพไดรฟ์ โดยเมนบอรืดจะมี คอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์จะ รองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ตัว โดยอาจจะเป็นฮาร์ดดิสืกสองตัวกับไดรฟ์ CD-RW และไดรฟ์ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39 พิน
รูปที่ 2.23 IDE Connector
PCI Slots (Peripherals component interconnect)
สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด
SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมี สล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อคพีซีไอโดยใช้ สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสล็อตแบบ พีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้าการติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ ได้ง่ายกว่าอุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง
เมื่อติดตั้งแล้วโอเอสจะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่ง
สล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Bus ซึ่งหมายถึงเส้นทางที่ใช้ใน
การรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบพีซีไอจะทำงาน
ในระบบ 32 บิต
รูปที่ 2.24 PCI (Peripherals component interconnects)
RAM Sockets
เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้ง
แรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็ จะทำให้เพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์คอยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับ ตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม
รูปที่ 2.25 RAM Sockets
System Panel Connector
จากรูปจะสังเกตเห็นกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System panel
นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่นรีเซต(Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิตซ์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboerd Lock) โดยสวิตซ์หรือสายไฟหลาว นี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System panel สวิตซ์เปิดเครื่องหรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก้จะไม่ติด
รูปที่ 2.26 System Panel Connector
PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port
เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อสายเมาส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยเรียกว่าพีเอสทูเมาส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเมาส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเมาส์และคีบอร์ดเข้าไปต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเมาส์และคีบอร์ด นั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้สีเขียวสายต่อเมาส์ สีน้ำเงินคือสายต่อคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตอีกประการหนึ่งคือเมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมี ลักษณ์รูปเมาส์กับรูปคีย์บอร์ดติดอยุ่ เพื่อให้ต่อสายเมาส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง
USB Port (Universal Serial Bus)
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์
กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดรฟ์ ซิพไดรฟ์ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมา อีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับ พอร์ตยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ
รูปที่ 2.27 USB Port
Parallel Port
พอร์ตพาราลเลล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์
หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราลเลล ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า บางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราลเลลจะมีกับเครื่องพรินเตอร์ รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป
รูปที่ 2.28 Parallel Port
Serial Port
พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port)
เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็มเมาส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบ ไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่
รูปที่ 2.29 Serial Port
Video Port
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพกับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะ
เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ด แสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA On board)
รูปที่ 2.30 Video Port
IEEE 1394 Port
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Fire Wire (บริษัท โซนี่เรียกว่า I-Link) เป็นพอร์ตที่
ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่นพอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วง กับสแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวีดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Fire Wire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับดิจิตอลวีดีโอ เนื่องจากการที่สามารถควบคุมการ ทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
Line in / Line out / Microphone jack
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ การ์ดเสียงจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย
ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ทำให้ไม่ต้องซื้อการ์ดเสียงเพิ่ม อย่างไรก็ดี ถ้าต้องการ คุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับการทำดนตรีหรืองานตัดต่อวีดีโอ ควรติดตั้งการ์ดเสียงเพิ่ม
รูปที่ 2.31 Video Port
ที่มา : https://sites.google.com/site/hardwaerinducation/swn-prakxb-phayni-kheruxng-khxmphiwtexr |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น