วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

E-Commerce


E-Commerce คืออะไร

                   E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)
จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น  จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business

ประเภทของ E-Commerce   
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) 
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ 
www.mahadthai.com
ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-commerce
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ได้มีผู้ความหมายไว้หลายความหมาย เช่น
กิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่ด าเนินการโดยมีการแลกเปลี่ยน เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลข่าวสาร โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีเมล์ และอื่น ๆ (Hill, 1997)
การใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์ในการด าเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น EDI การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมอื่น ๆ โทรทัศน์และการใช้อินเทอร์เน็ต (Palmer, 1997
E-Commerce หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (World Trade Organization: WTO)
E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้า บริการ และสารสนเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอินเตอร์เน็ต (Turban et al, 2000)

สรุป
 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยการครอบคลุมถึงการซื้อ -ขายสินค้า/บริการ การช าระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต
ปัจจัยที่ทำให้เกิด E-commerce
ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า
ความไว้วางใจ เนื่องจาก E-commerce ไม่สามารถจับต้องได้ ดังนั้นการที่จะท าให้ผู้ซื้อเชื่อว่าเว็บไซต์นี้มีผู้ขายและมีสินค้าจริง ต้องท าให้เกิดความไว้วางใจก่อนการสร้างความไว้วางใจให้กับเว็บไซต์มีดังนี้
หน้าตาของเว็บไซต์ต้องมีการออกแบบที่น่าเชื่อถือ
มีส่วนให้ลูกค้าร้องเรียนในกรณีเกิดข้อผิดพลาด
ปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ทันสมัยเสมอ
พยายามให้เว็บไม่ถูกปิดบ่อยๆ

การแบ่งกลุ่มคู่ค้าของ E-commerce
Business - ผู้ท าการค้า
Customer - ผู้บริโภค
Government รัฐบาล
ประเภทของ E-commerce
1. Business to Business B2B)
2. Business to Consumer - B2C
3. Business to Government B2G
4. Consumer to Consumer - C2C
5. Government to Consumer -G2C
6. Government to Government -G2G

1. ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน
แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
2. ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)  คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
3. ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-GovernmentProcurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com
4. ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะท าการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น เอกสารประกอบวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น || ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-Commerce
 5. ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการค านวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการท าทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการท าเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
6. ภาครัฐ กับ รัฐด้วยกัน (Government to Government -G2G) เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับรัฐ ในกระทรวงหรือระหว่างกระทรวง เช่น การติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกระทรวงประโยชน์ของ E-commerce แบ่งเป็น 4 ด้านดังนี้
ต่อบุคคล
ต่อองค์กรธุรกิจ
ต่อสังคม
ต่อระบบเศรษฐกิจ
ต่อบุคคล
มีสินค้าและบริการราคาถูกจ าหน่าย
ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น สามารถท าธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้ารายอื่น
ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการด าเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)
ต่อองค์กรธุรกิจ
ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
ทำให้บริการลูกค้าได้จ านวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ า
ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายการเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึง
ร้อยละ 90
ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะ Internet ราคาถูกกว่าโทรศัพท์
ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้ เอกสารประกอบวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น || ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-Commerce
ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ต่อสังคม
ทำให้คนสามารถท างานที่บ้านได้ ท าให้มีการเดินทางน้อยลง ท าให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
ทำให้มีการซื้อขายสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้
ต่อระบบเศรษฐกิจ
กิจการ SMEs ในประเทศก าลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก
ทำให้กิจการในประเทศก าลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ
บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ท าให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง ท าให้อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลงด้วย
ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกันในเมือง
เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขัน ท าให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ข้อจำกัดของ E-commerce
1. ข้อจำกัดด้านเทคนิค
2. ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
3. ข้อจำกัดด้านธุรกิจ
4. ข้อจำกัดอื่นๆ
1. ข้อจำกัดด้านเทคนิค
ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ
ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจ ากัด
ซอร์ฟแวร์ยังก าลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่าง Internet และซอร์ฟแวร์ของ E-commerce กับแอพพลิเคชั่น
ต้องการ WebServer และ NetworkServer ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตยังมีราคาแพงและไม่สะดวก เอกสารประกอบวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น || ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ E-Commerce
2. ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการท าธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน
การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่
ปัญหาเกิดจากการท าธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่
3. ข้อจำกัดด้านธุรกิจ
วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)จะสั้นลง เพราะการเข้าถึงข้อมูลท าได้ง่ายและรวดเร็ว การลอกเลียนผลิตภัณฑ์จึงท าได้รวดเร็ว เกิดคู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ง่าย จะต้องมีการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ
ความพร้อมของภูมิภาคต่าง ๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ ECommerce มีไม่เท่ากัน
ภาษีและค่าธรรมเนียม จาก E-Commerce จัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง
ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce ครบวงจรค่อนข้างสูง เพราะรวมถึงค่า Hardware,Softwareที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนค่าจ้างบุคลากร
ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมาก ในโครงสร้างพื้นฐาน
เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ท าให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้ยาก
4. ข้อจำกัดอื่นๆ
การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเตอร์เน็ต มีมาก และมีการขยายตัวเร็วมากกว่าการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตเสียอีก
สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)ระบบการจ่ายเงิน หรือการให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใคร และสามารถใช้ซอร์ฟแวร์ติดตามกิจกรรมต่าง ๆ หรือส่ง Spamไปรบกวนได้
E-Commerce เหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อถือและไว้ใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ยังไม่มีการประเมินผลการด าเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของ E-Commerce เช่น การโฆษณาผ่านทาง E-Commerce ว่าได้ผลเป็นอย่างไรจำนวนผู้ซื้อ / ขาย ที่ได้กำไรหรือประโยชน์จาก E-Commerce ยังมีจำกัด โดยเฉพาะใน ประเทศไทยซึ่งสัดส่วนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรต่ำมาก และการใช้E-Commerce ในการซื้อ/ขายสินค้า มีน้อยมาก รูปแบบของ E-Commerce
เว็บไซต์ขายสินค้า มีจุดประสงค์เพื่อขายสินค้าโดยตรงการออกแบบจะออกแบบเพื่อรองรับการแสดง
เว็บไซต์ให้บริการ
เว็บไซต์บริการและค้นหาข้อมูล
เว็บไซต์รูปแบบอื่นๆ
เว็บไซต์ขายสินค้า
มีจุดประสงค์เพื่อขายสินค้าโดยตรงการออกแบบจะออกแบบเพื่อรองรับการแสดงสินค้า มีระบบชำระเงิน ตะกร้าสินค้า เพื่ออ านวยความสะดวกต่อลูกค้า สิ่งที่ต้องเตรียมในการท าเว็บไซต์
สินค้าที่จะขาย
เลขบัญชีธนาคาร
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์
รูปภาพสินค้าและข้อมูล

แนวคิดในการปรับปรุงสินค้าในอนาคต 


ที่มา : http://www.thaiecommerce.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538636758&Ntype=6







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น